วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โครงงาน เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสบู่ชาเขียว และสบู่ชาเขียวกับน้ำกุหลาบ





โครงงาน
เรื่อง
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสบู่กลีเซอรีนชาเขียว
และสบู่กลีเซอรีนชาเขียวกับน้ำกุหลาบ
นาย ปวรวุธ  วิสุทธิเสน เลขที่ 9 ม. 5/4
นาย อภิราม รสหานาม เลขที่ 13 ม. 5/4
น.ส. อัจฉรา เจริญกิจกังวาน เลขที่ 25 ม. 5/4
น.ส. จารุวรรณ เทพวุฑฒิ เลขที่ 27 ม. 5/4
น.ส. อธิชา สิงหนาท เลขที่ 35 ม. 5/4
นำเสนอ
อาจารย์ ศุจิรัตน์ คิดอยู่
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิชา is
                                              ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียน ชิโนรสวิทยาลัย

                                                                         บทคัดย่อ
                โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสบู่กลีเซอรีนสมุนไพร จัดทำขึ้นเพื่อ เรียนรู้วิธีการทำสบู่ เพราะสบู่เป็นของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ทุกวันเราอาบน้ำต้องใช้สบู่เพื่อการขจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ซึ่งคนส่วนมากมักจะเลือกสบู่ที่สามารถทำความสะอาดได้ดีมากๆ จนไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดกับผิวในภายหลัง ปัจจุบันสบู่มีมากมายหลายชนิดให้เราเลือกใช้ ตามความเหมาะสมและความชอบของแต่ละบุคคล บางชนิดก็ผสมสมุนไพรบางชนิดก็ผสมสารเคมี เช่น Triclocarban  เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งผู้ใช้บางรายอาจเกิดอาการแพ้สารเคมีหากใช้บ่อยเกินไป  แต่เรารู้จักสบู่เหล่านั้นดีเพียงไร และจะมีสักกี่คนที่ใส่ใจในรายละเอียดว่าสบู่แต่ละก้อนมีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง สบู่ที่ดีจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผิว ซึ่งนอกจากจะทำให้สบู่ที่ได้ทำความสะอาดผิวได้ดีแล้วยังสามารถบำรุงผิวได้อีกด้วย ทั้งนี้สบู่เป็นสิ่งที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน หากเราคัดสรรสบู่ที่ดีมีคุณภาพจะทำให้เร มีสุขภาพผิวของที่ดีอยู่คู่กับเราไปตลอดนานเท่านาน

                  ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยการผลิตสบู่สมุนไพรใช้เองน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ลดค่าใช้จ่าย ช่วยเหลือเศรษฐกิจประชาชนชุมชนได้มาก เพราะวัตถุดิบหลักที่ใช้เป็นวัสดุที่ผลิตเองในประเทศเกษตรกรสามารถปลูกพืชน้ำมัน และสกัดน้ำมันโดยวิธรการง่ายๆนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลัก นอกจากนี้ในแหล่งชุมชนที่มีไขมันสัตว์เหลือใช้ อีกทั้งสมุนไพรหาได้ในประเทศมากมายการผลิตสบู่ผสมสมุนไพรจึงเป็นการสนับสนุนการนำสารจากวัสดุธรรมชาติที่ผลิตได้เองมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าราคาถูกประหยัดและใช้ได้ง่ายจึงน่าที่จะผลิตสบู่สมุนไพร เพื่อนำมาใช้ชำระล้างทำความสะอาดร่างกายและของใช้หรือใช้ซักเสื้อผ้าแทนผงซักฟอกได้ ก่อนที่จะทำการผลิตสบู่สมุนไพร จำเป็นต้องศึกษาวิธีการผลิตอย่างละเอียดก่อนเพื่อความปลอดภัยและและจะได้สบู่ที่มีคุณภาพดี




                                                                   กิตติกรรมประกาศ
               ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสบู่สมุนไพรสารสกัดชาเขียว และ สารสกัดชาเขียวกับน้ำกุหลาบ จากกลีเซอรีนธรรมชาติ ในครั้งนี้  คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ ศุจิรัตน์ คิดอยู่ ที่ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการเปรียญเทียบของประสิทธิภาพของสบู่ และ ให้คำแนะนำในเรื่องของการทำสบู่ วิธีการทำสบู่อย่างถูกต้อง และ ถูกวิธีตลอดจนอธิบายถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการนำมาทำสบู่และสามารถนำไปลงมือปฏิบัติจริง
                  ในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้และได้คำแนะนำปรึกษาในการทำโครงงานอย่างเป็นกันเอง รวมทั้งแนวคิดตลอดจนข้อบกพร่องต่างๆที่ต้องแก้ไข ทำให้คณะผู้จัดทำสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำโครงงานชิ้นนี้ได้ จนโครงงานเรื่องนี้เสร็จสมบูรณ์ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้
คณะผู้จัดทำโครงงาน
วันที่ 14/08/60







สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                            หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                       
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                        
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                1
1.1     ความเป็นมาของโครงงาน
1.2     วัตถุของโครงงาน
1.3     สมมติฐาน
1.4      ขอบเขตของโครงงาน
1.5      ประโยชน์ที่ได้รับ จากโครงงาน
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                                                                         3
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน/วิธีดำเนินการวิจัย                                                        7
บทที่ 4 ผลการทดลอง                                                                                                  12
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ                                                                                 15
บรรณานุกรม                                                                                                                16
ภาคผนวช                                                                                                                     17



                                                                              บทที่ 1

                                                                              บทนำ
1.ความเป็นมาของโครงงาน
    สบู่ คือ สิ่งที่ทำมาจากไขผสมสารเคมีหลายชนิดเข้าด้วยกัน และ ผลิตใช้กันมาก ในปัจจุบันมนุษย์ใช้สบู่ขจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกายสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ และ สบู่ที่ทำจากสมุนไพรสามารถขจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
    คนส่วนใหญ่จะรู้จักสบู่สารเคมีมาก และ ใช้สบู่ที่ผสมสารเคมีกันทุกครัวเรือน ใช้ทุกวัน ทุกครั้งที่ต้องการทำความสะอาดร่างกาย เพราะในสบู่มีสารที่สามารถฆ่าเชื้อโรค และ แบคทีเรียได้เป็นอย่างดี
     ฉะนั้นจึงต้องมีการผลิตสบู่สมุนไพรจากธรรมชาติ (สารสกัดชาเขียว และ น้ำกุหลาบ) โดยสบู่นั้นต้องสามารถขจัดสิ่งสกปรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกลิ่นหอมจากธรรมชาติ มีสีสันสวยงาม และ มีฟองที่นุ่ม เพื่อดึงดูงความสนใจของผู้อุปโภค
      ที่สำคัญต้องเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับคูรสมบัติของสมุนไพรที่นำมาทำสบู่ถึงคุณสมบัติที่ดีไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
        1. เพื่อศึกษาการทำสบู่สมุนไพร
        2. เพื่อศึกษาประโยชน์ของสารสกัดชาเขียว และ สารสกัดน้ำกุหลาบ
        3. เพื่อส่งเสริมการใช้สบู่สมุนไพรในปัจจุบัน

3.สมมติฐาน 
                1. สบู่กลีเซอรีนผสมสมุนไพร สามารถทำความสะอาดผิวกายได้
                2. สบู่กลีเซอรีนที่ผสมสมุนไพรสารสกัดชาเขียว และ สารสกัดน้ำกุหลาบ ช่วยให้ผิวสะอาด ขจัดสารพิษ ป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกทั้งยังป้องกันการระคายเคืองผิว   และดูชุ่มชื่นขึ้น
                3. สบู่กลีเซอรีนธรรมชาติไม่มีสารเคมีใดๆจึงไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
ตัวแปรต้น                สบู่สมุนไพรสารสกัดชาเขียว และสารสกัดน้ำกุหลาบ จากกลีเซอรีนธรรมชาติ
ตัวแปรตาม               ความสะอาดชุ่มชื่นของผิวกาย ป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกทั้งยังป้องกันการระคายเคืองผิว
ตัวแปรควบคุม          ปริมาณสบู่ผสมสมุนไพรจากสารสกัดชาเขียว และ จากสารสกัดชาเขียวกับสารสกัดน้ำกุหลาบ

4.ขอบเขตของโครงงาน
          ส่วนผสมของสมุนไพร คือ สูตรสารสกัดชาเขียว และ สูตรสารสกัดชาเขียวกับสารสกัดน้ำกุหลาบ
5. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
          1.จะได้รู้ส่วนประกอบของสบู่ และ วิธีการทำสบู่สมุนไพร
          2. จะได้ศึกษาประโยชน์และข้อดีของสารสกัดชาเขียว และน้ำกุหลาบ
          3. ให้ความรู้ บอกข้อดี และ ส่งเสริมการใช้สบู่สมุนไพรในปัจจุบัน




                                                                         บทที่ 2

                                                     เอกสาร และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     ในการศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของสบู่ชาเขียว สบู่น้ำกุหลาบ ผู้ศึกษาได้รวบรวมแนวคิดทฤษฏีและหลักหารต่างๆจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้
สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น
                สบู่ (soap) คือสารเคมีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์(ด่าง,โซดาไฟ, (NaOH,) และน้ำมันที่มาจากสัตว์หรือพืชมีส่วนผสมระหว่างกรด(ไขมัน)กับเบส(ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10ใช้ชำระล้างร่างกายควบคู่กับการอาบน้ำ ทำมาจากไขมันสัตว์ผสมกับน้ำหอม โซดาไฟ และวัตถุดิบอื่นๆ
           สบู่ก้อน คือส่วนผสมระหว่างกรด(ไขมัน)กับเบส(ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 (ในเอกสารจดแจ้งของ อย.ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อนระบุว่ามีค่า ph ไม่เกิน 11) กรดหรือกรดไขมัน เช่นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เบส เช่นโซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือเมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมันอยู่ประมาณ5% หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่า pH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย 15-30 วันเพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม





2.1สารสกัดชาเขียว
      อุดมไปด้วยสารโพลีฟินอลที่ชื่อว่า EGCC ( Epigallo Catechin ) มีคุณสมบัติในการล้างสารพิษ คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธ์แรงสูง ( Superpowerful Antioxdant ) ทำให้ช่วยป้องกันการก่อตัวของอนุมูลอิสระ ซึ้งเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควรทั้งยังเพิ่มความชุ้นชื่นและความเปร่งปลั่งให้กับผิวหน้าและช่วยลดร่องรอยความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตาและยังลดการบวมของเปลือกตาและถุงใต้ตา ผิวจะนุ่มนวลและดูสดชื่นขึ้น
       สาร EGCC ในทางเคมีจัดเป็นสารโพลีฟินอลชนิดหนึ่งที่มีการวิจัยกันอย่างกว้างขวางและหลายการวิจัยก็พอว่าสาร EGCC ดังกล่าวนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ได้แก่
              1.มีส่วนช่วยในขบวนการ การกำจัดไขมันโคเรสเตอรอลในหลอดเลือดซึ่งทำให้ลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจาการอุตันของไขมันในหลอดเลือด
              2.ช่วยในการขับสารพิษและสารอนุมูลอสระจึงส่งผลในการป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งและความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆในร่างกาย
             3.ช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เนื่องจากมีผลในการกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์
        ประโยชน์ของชาเขียว
            1.ต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลังในปริมาณสูง สารแอนติออกซิแดนซ์นี่สามารถขับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด
            2.ป้องกันโรคมะเร็ง EGCC สามารถลดเปอร์เซนต์การก่อตัวเป็นมะเร็งที่ดีที่สุด นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า Catechins มีบทบาทสำคัญ คือ ช่วยลดภาวะเป็นพิษของสารก่อมะเร็งบางชนิดแทรงแซงกระบวนการเกาะยึดของสารก่อมะเร็งต่อ DNA ของเซลล์ปกติสรรพคุณที่เป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลัง เสริมการทำงานกับสารแอนติออกซิแดนซ์และ Enzymes อื่นๆ และจำกัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก

2.2สารสกัดกุหลาบ
     ชื่อทั่วไป สารสกัดน้ำดอกกุหลาบ (Rose Water) ชื่อทางทฤกษาศาสตร์ (Rose hybrida) ชื่อว่า INCI Name Rose Damascena flower water
     สารสกัดดอกกุหลาบมีคุณสมบัติเป็น anti septie และ anti bacteria และยังสามารถป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกทั้งยังป้องกันการระคายเคืองผิวได้อีกด้วยจึงนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทั้งในกลุ่ม Toner และ Moisturizer ในการฟื้นฟูบำรุงเซลล์ผิวที่เสียให้คืนสู่ความสมบรูณ์แข็งแรงนอกจากนี้สารสกัดดอกกุหลาบยังอุดมไปด้วย สารที่มีประโยชน์ในการบำรุงผิวหน้าและผิวกายช่วยกระกระชับรูขุมขนไม่ให้เปิดกว้างหลักจากล้างหน้า ช่วยเพิ่มความชุ้นชื่นให้แก่ผิวและช่วยปรับสมดุลของสภาพผิว ฟื่นฟูเซลล์ผิดภายในให้แข็งแรงเป็น Anti-Oxidant ช่วยลดการเกิดริ้วรอยจุดด่างดำ และช่วยให้ผิวพรรณ์สว่างสดใสสุขภาพดี สีผิวจุดด่างดำค่อยๆจางลง
      กลีบกุหลาบ อุดมไปด้วย วิตามินซีแคโรทิน วิตามินบี วิตามินเค แคลเซียม และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายของระบบเลือด เรียกว่า วิตามินเกลือแร่ต่างๆที่ร่างกายต้องการนั้นมีอยู่ครบถ้วนในกลีบกุหลาบ เช่น โปแตสเซียม ที่จำเป็นต่อระบบหัวใจ แร่ธาตุทองแดงที่ร่างกายต้องการเพิ่มกระบวนการสร้างเม็ดเลือดและใช่ในกระบวนการต่อมไร้ท่อ ไอโอดีน ที่ร่างกายต้องการสำหรับการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์
       สารสกัดจกากลีบกุหลาบ ( Rose Crysta ) มีสารสำคัญ คือ EuGeniin และ Rose Polyphenol Eugeniin แก้ปัญหาผดร้อน ผื่นแดง แพ้ระคายเคืองจาการสารเคมีช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับผิว Rose polyphenol ยับยั้งเอมไซม์ไฮนาลูโรนิเดส (Hyaluroidase) ที่ทำลายไฮยาลูโลนิกแอซิค มนผิวชั้นลึกจึงเสมือนเป็นเกาะปกป้องให้ถูกทำลายน้อยลง ช่วยยึดอายุและปรับโครงสร้างให้ผิวแข็งแรง เต่งตึง แน่นฟิต กระชับ อุ้มน้ำ ไม่ยุบตัว หย่อนคล้อยไปตามวัยตงสภาพผิวแรกรุ่น อ่อนเยาว์ ลดการผลิตเม็ดลีเมลานินที่ทำให้ผิวคล้ำเสียหม่อนหมอง รอยกระ และรอยดำจากสิว ผิวจึงขาวใสขึ้นทั้งผิวหน้าและผิวกาย ลดอาการอักเสบของผิวที่ไหม้ บวม รอยแดง จากรังสียูวีในแสงแดด


2.3 กลีเซอรีน
      คือ ของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นมีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืชซึ่งโดยทั้วไป คือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม
      ประโยชน์ของกลีเซอรีนบริสุทธิ์
      สามารถนำไปประยุกติ์เป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอไรเซอร์ เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่นไม่ให้อุดตันรูขุนขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง และเนื้อผ้าทุกชนิด
      กลีเซอรีน ได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ด้วยการทำยาเหน็บทวาร ใช้เป็นยาระบายและยังสามารถใช้เป็นยาเฉพาะทางผิวหนัง หลายชนิด รวมถึงโรคผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลของมีคม เนื่องจากกลีเซอรีนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้










                                                                          บทที่ 3
                                                           วิธีดำเนินการโครงงาน
    ในการทำโครงงานเรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสบู่ชาเขียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5/4 ประจำปีการศึกษา 2560 มีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้
1.ขั้นตอนเตรียมการ
    ในการจัดทำโครงงานมีขั้นตอนเตรียมการดังนี้
    1.ประชุมอภิปรายการจัดทำโครงงาน แต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการและเหรัญญิก
    2.กำหนดชื่อเรื่องโครงงานในหัวข้อการเปรียบเทียบสบู่ ซึ่งสมาชิกได้มีความเห็นร่วมกันแต่งชื่อเรื่องในการจัดทำโครงงาน คือ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสบู่ชาเขียว
    3.ตั้งวัตถุประสงค์ตามแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นเป้าหมายในการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำได้ตั้งวัตถุประสงค์ดังนี้
               1.เพื่อศึกษาการทำสบู่ชาเขียว และสบู่ชาเขียวกับน้ำดอกกุหลาบ
               2.อยากทราบถึงประสิทธิภาพของสบู่ชาเขียว
               3.เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างสบู่ชาเขียว กับสบู่ชาเขียวน้ำดอกกุหลาบ
               4.มอบหมาย และแบ่งภาระงานให้กับสมาชิก




รายชื่อผู้ร่วมงาน
สมาชิก
นาย ปวรวุธ วิสุทธิเสน
มีหน้าที่พิมพ์ข้อมูล
สมาชิก
นาย อภิราม รสหานาม
มีหน้าที่พิมพ์ข้อมูล
สมาชิก
น.ส. อัจฉรา เจริญกิจกังวาน
จัดหาข้อมูล
สมาชิก
น.ส. จารุวรรณ เทพวูฑฒิ
เสนอโครงงาน
สมาชิก
น.ส. อธิชา สิงหนาท
ทดลองทำสบู่
2.วัตถุและอุปกรณ์
    2.1  กลีเซอรีน
    2.2  มีด
    2.3  เขียง
    2.4  ถ้วย 3 ใบ
    2.5  ช้อนคน
    2.6  น้ำหอม
    2.7  ภาชนะ/พิมพ์ที่ใส่สบู่
    2.8  สารสกัดชาเขียว
    2.9  สารสกัดน้ำดอกกุหลาบ
3. วิธีการดำเนินการ
    3.1  ประชุมวางแผน
    3.2  ออกปฎิบัติการ
    3.3  ค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
    3.4  ปฎิบัติการผลิตสบู่ทั้ง2สูตร
    3.5  ทดสอบประสิทธิภาพของสบู่ทั้ง2สูตร
    3.6  สรุปผลและรายงานโครงงาน
ขั้นตอนการผลิตสบู่ และ สบู่ชาเขียวและน้ำดอกกุหลาบ
1.หั่นกลีเซอรีนเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2.นำกลีเซอรีนใส่หม้อ ต้มจนละลายหมด
 
 3.ผงชาเขียวชง
4.สารสกัดน้ำกุหลาบ
5.ใส่สารสกัดทั้งหมด
5.1 ถ้วยกลาง สารสกัดชาเชียวกับสารสกัดน้ำกุหลาบ
5.2 ถ้วยขวามือ สารสกัดชาเขียว

6. บรรจุใส่พิมพ์
6.1 ซ้ายสูตรสารสกัดชาเขียวกับ สารสกัดน้ำกุหลาบ
6.2 ขวาสูตรสารสกัดชาเขียว






                                                          บทที่ 4

                                     ผลการทดลอง/วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล
    จากการวิจัยเรื่อง สบู่น้ำดอกกุหลาบและชาเขียวจากกลีเซอรีน ผลปรากฏว่า สบู่ที่ทำมาจากกลีเซอรีน ผสมน้ำดอกกุหลาบและชาเขียวต่างชนิดกัน คือ “น้ำดอกกุหลาบ” และ “ชาเขียว” สามารถทำความสะอาดผิวกายต่างกันเพราะที่นำมาผสมแตกต่างกัน มีสรรพคุณต่างกัน มีความหอมแตกต่างกันตามที่นำมาผสม และสบู่น้ำดอกกุหลาบและชาเขียวจากกลีเซอรีนที่ทำเอง มีค่า pH ตรงตามมาตรฐาน คือ มีค่าได้ เท่ากับ 8 (หรือเบส) โดยสบู่ทั้งสองมีค่า pH เท่ากัน ซึ่งเป็นค่าที่ตามมาตรฐานที่ใช้ทำความสะอาดร่างกายกัน และค่า pH มีค่าเป็นกลางใกล้เคียงกับผิวพรรณของเรา
     4.1การศึกษาการผลิตสบู่จากสารสกัดชาเขียวกับน้ำดอกกุหลาบ
            จากการศึกษาการผลิตสบู่จากสารสกัดชาเขียวกับน้ำดอกกุหลาบ  สามารถผลิตสบู่ได้2สูตร
สูตรที่1 สูตรสารสกัดชาเขียว
สูตรที่2 สูตรสารสกัดชาเขียวและน้ำดอกกุหลาบ






4.2ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้กับสบู่ทั้ง 2 สูตร
จากแบบสอบถามความพึงพอใจจากประชากร
                                    ชาย  15 คน  หญิง 20  คน
สูตรที่ 1 สารสกัดชาเขียว
ดีมาก
  (4)
ดี
(3)
พอใช้
(2)
ควรปรับปรุง
(1)
 ค่าเฉลี่ย
1.รูปลักษณ์ภายนอกของสบู่
 1.1สี-กลิ่น
    9
    21
   3                                                                                                              
         2
  3.05
2.การเกิดฟอง
    7
    4
  18
         6
   2.342
3.ประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
   6
   25
    4
        0
  3.057
4.ความนุ่มลื่นของผิวหลังใช้
  10
   22
    3            
        0
    3.2
5.ความยาก-ง่ายในการล้างสบู่
      14
17
    4
        2
   3.342



สูตรที่ 2 สารสกัดสารชาเขียวกับน้ำดอกกุหลาบ
ดีมาก
(4)
ดี
(3)
พอใช้
(2)
ควรปรับปรุง
(1)
ค่าเฉลี่ย
1.รูปลักษณ์ภายนอกของสบู่
 1.1สี-กลิ่น
         8
   21
     4
         2
     3
2.การเกิดฟอง
         3
    7
   17
         6
  2.08
3.ประเมินภาพในการทำความสะอาด
 13
   16
     4   
         2
 3.171
4.ความนุ่มลื่นของผิวหลังจาการใช้
        7
    24
     4    
         0
 3.085
5.ความยาก-ง่ายในการล้างสบู่
         15
   16
     4
          2
3.371
  4.3การนำไปใช้งาน
         ารล้างมือ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่คณะผู้จัดทำได้ศึกษา ค้นคว้า  และปฏิบัติ จนได้มาเป็นสบู่ เพื่อใช้ในการล้างมือให้สะอาดมากขึ้นกว่าการล้างน้ำเปล่าและยังทำให้ผิวชุ่มชื้น สดชื่นและฆ่าเชื้อโรค เพื่อป้องกันและลดการเกิดไข้หวัดต่างๆ ที่ทำให้สุขภาพกายเจ็บป่วย  และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้




                                                                               บทที่ 5
                                           สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
1.สรุปผลการทดลอง
    1.1 การทดลองเป็นที่น่าพึงพอใจของสมาชิกภายในกลุ่มและผู้ทดลองใช้ และได้ทราบผลลัพธ์จากการทดลองใช้สบู่สมุนไพรแต่ละสูตรว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
2.ปัญหาและอุปสรรคในการทดลอง
    2.1 สมาชิกภายในกลุ่มมีเวลาว่างไม่ตรงกัน
    2.2 สบู่มีสีเข้มขึ้นเมื่อได้รับความร้อนเป็นเวลานาน ทำให้สบู่อาจจะมีสีที่แตกต่างกันออกไป
    2.3 สบู่แข็งตัวเร็ว ทำให้เวลาใส่พิมพ์สบู่อาจจะมีลายที่ไม่สวยงาม
3. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
    3.1 การนำสมุนไพร พืช หรือดอกไม้ชนิดอื่นๆมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่
    3.2 การนำส่วนผสมหรือสารชนิดอื่นๆ เช่น กรดผลไม้ หรือวิตามินต่างๆ มาเป็นส่วนผสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย และตรงจุดกับที่ผู้ใช้ต้องการ
    3.3 นำผลการทดลองมาปรับปรุงแก้ไขจากแบบสอบถามที่เพื่อนประเมินให้ดียิ่งขึ้น




                                                             บรรณานุกรม

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น